1/04/2556

Sampling Rate คืออะไร ?


  Sampling Rate  คืออะไรกันแน่ !!



                  หลายๆท่านที่พึ่งจะเริ่มเรียนรู้การทำเพลง หรือ ที่ศึกษาไปได้สักระยะแล้วอาจจะยังไม่เข้าใจว่าไอ้เจ้า Sampling Rate เนี่ยแท้จริงแล้วมันคืออะไรเวลา Export เพลงมันก็มักจะถามหา หรือ ตอนสร้างโปรเจคมันก็ดันมาถามอีก ก็เลยกดๆไปก่อนแล้วกันว่ะ (^-^)



                  เมื่อพูดถึง Sampling Rate แล้วจะเปรียบเหมือนกับว่า มันคือหน่วยที่ใช้วัดหรือใช้เรียกความละเอียดของความถี่ ซึ่งอยู่ในรูปของ เวฟ (Sine Wave) ยกตัวอย่างเช่นเสียงที่เราอัด คำว่า "สวัสดีครับ" ในคำนี้ก็จะมีความถี่เสียงประกอบกันอยู่ในคลื่นที่เราได้อัดไว้ หน่วยของ Sampling Rate จะเป็น kHz(กิโลเฮิรตซ์) เราจะเห็นได้ว่าแต่ละคลื่นเสียงนั้นจะมีความลาดชัน ความโค้งของคลื่นจะไม่เหมือนกันขอยกตัวอย่่าง Sampling Rate 44.100 kHz ก็คือ จำนวนจุดที่บอกตำแหน่งความถี่ในคลื่นเวฟหนึ่งๆ หมายความว่า ในคลื่นเวฟ หนึ่งลูกจะมีจุดบอกความถี่ ประมาน 4 หมื่นกว่าจุดนั้นเอง สรุปก็คือ ถ้ายิ่งมีค่า Sampling Rate มากเท่าใดนั้น ก็จะสามารถเก็บความถี่ได้เยอะมากขึ้น ซึ่งก็คือคุณภาพเวฟของเราจะดีขึ้นนั้นเอง 

ผมมีรูปมาให้ดูกันชัดๆอีกที 
              กรณีที่ 1  ถ้าเกิด Sampling Rate ของเรานั้นน้อย จะเป็นเหมือนกับกราฟ A ซึ่งสีเทาคือเสียงที่ออกมาจากเครื่องดนตรีหรือแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ แต่ในขณะที่เรา Record เข้าไปในคอม Sampling Rate ของเราจะบอกจุดความถี่ได้น้อยเหลือเกินทำให้เสียงที่บันทึกมานั้นความละเอียดอาจจะน้อยไปทำให้มีความถี่ไม่ครบตามแหล่งกำเนิดเสียงจริง
              กรณีที่ 2  ถ้าเกิด Sampling Rate ของเรานั้นมาก ก็จะเหมือนกับกราฟ B นั้นเอง ซึ่งจะสามารถเก็บความถี่ของแหล่งกำเนิดเสียงได้เกือบตรงแปะๆ



          แต่ !! การที่ Sampling Rate มากขึ้นก็ต้องแลกมาด้วยขนาดของฟายที่ใหญ่ขึ้นมากทีเดียว และ อุปกรณ์ในการอัดของเราก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งด้วยที่ทำให้คุณภาพเสียงนั้นออกมาดีครับ 
แต่ไม่ใช่ว่าอ่านบทความนี้แล้วจะกลับไปอัด Sampling Rate ที่ 192 kHz เลยนะครับ ฮ่าๆ อย่าไปคิดว่า Sampling Rate เยอะๆนั้นดีนักเพราะว่ายิ่งเราเก็บความถี่ได้เยอะเท่าใด เรื่องของ Hamonics อื่นๆจะตามมาอีกเยอะและทำให้เราซึ่งเริ่มทำเพลงใหม่ๆมีเรื่องปวดหัวเยอะขึ้นมากเลยละครับ ถ้าแนะนำสำหรับ Demo เพลงที่ไม่ได้ออกอัลบั้มอะไรจริงจังก็ Sampling Rate ที่ 44.100 kHz หรือ 48.000 kHz ก็น่าจะเพียงพอแล้ว 

เรื่องต่อไปเรามาพูดถึงเรื่องของ Bit Depth ในบทความหน้ากันดีกว่าครับ ติดตามชมด้วยนะครับ ไปละ ฟิ้ววว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น