12/27/2555

มิกซ์เสียง ขุ่นมัว ไม่ใส Mix ฟังไม่รู้เรื่อง !!


บทความที่แล้วพูดถึงเรื่องของ Fundamental freq. และ Harmonics ตอนนี้มาต่อเรื่องของการ Cut Eq ให้เสียงที่ไม่ถึงประสงค์หายไปครับ

      การที่เสียงที่เราอัดมานั้นมีความขุ่นมัว ไม่ใส หรือ ฟังดูแล้วอึดอัด หรือ เรียกว่า Muddy หรือ Boxy นั้นอาจเป็นเพราะมีความถี่ช่วง 400-800 Hz อยู่ในเสียงนั้นๆมากเกินไป ส่วนวิธีการแก้ไข ก็ง่ายๆแต่ต้องใช้ EQ เป็นก่อน  ถ้ายังไม่รู้ตามไปดู บทความเก่าที่นี้

คลิกดูบทความเก่า   


             แนะนำให้ใช้  Sweep EQ  or  Parametric EQ

  1.  Boot หรือ Cut ความถี่  ไปประมาน 8-10 dB แต่ในที่นี้จะ Boot ความถี่ขึ้นเพราะฟังง่ายกว่า (สำหรับตัวผมนะ ฮ่าๆ)
  2. จากนั้นลอง Sweep ความถี่ไปเรื่อยๆเริ่มตั้งแต่ 50 Hz - 1 kHz เลยก็ได้แล้วลองใช้การฟังสังเกตุว่าจะมีช่วงความถี่นั้น ฟังแล้วรู้สึกอึดอัด เสียงจะอื้อๆ
  3. พอเราได้ช่วงความถี่ที่ทำให้เสียงนั้นฟังดูอื้อแล้วก็ทำการ ลด Gain หรือ Cut ความถี่ลงมานั้นเองจากนั้นลองฟังว่าเสียงมันหายหรือยัง แต่อย่าลืมว่าถ้าลดมากเสียงอาจจะบางลงได้
     
  4. ถ้าต้องการความชัดเจนของเสียงก็ลองปรับที่ย่าน เสียงกลางสูง หรือ upper mids ประมาน
    1 - 4 kHz ลองเพิ่มพอประมานนะครับ ถ้ามากไปอาจจะทำให้ฟังดูกระด้างได้
  5. ถ้าต้องการเพิ่มความเป็นประกาย จะอธิบายยังไงดีละเนี่ย เอาเป็นว่าลองเพิ่มดูช่วง 5-10 kHz ดูครับว่ามันจะเป็นแบบไหน
  6. ถ้าต้องการให้เสียงฟังดูโปร่งๆใสๆก็ลองปรับที่ช่วง 10-15 kHz ดูครับ
คำเตือน     การปรับ EQ นั้นถ้าเป็นไปได้ ควร Cut ลงเสมอ  ถ้าไม่จำเป็นไม่ควร Boot เพราะการปรับเพิ่ม
                นั้นอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของ Phase นั้นเปลี่ยนไปซึ่งอาจจะทำให้มีเสียง ที่ทำให้มิกซ์
                ยากขึ้นเพิ่มเข้ามาอีกด้วยครับ

               การแนะนำนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องปรับให้เหมือนหรือความถี่เป๊ะๆครับ ต้องลองฟังแล้วปรับดูครับ
               ถ้าผิดพลาดประการใด สามารถแจ้งได้ที่คอมเม้นด้านล่างแล้วผมจะ แก้ไขให้ครับ

Frequency ความถี่ คืออะไร แล้วใช้ยังไง ?

   

              โพสนี้ขอขอบคุณเนื้อหาที่ผมได้อ่านมาจากเว็ป  www.Patid.com  และก็ได้รวบรวมข้อมูลที่
     ได้อ่านมาสรุปให้ได้อ่านกันครับ

               หลังจากที่ได้เขียนเรื่อง EQ คืออะไรและการใช้งานไปแล้วทีนี้เราก็มาต่อกันด้วยเรื่องของ
      ความถี่ที่เราจะเลือกเพื่อ เพิ่มหรือลดนั้นเอง   วันนี้มีตารางความถี่มาให้ดูคร่าวๆ ถ้าภาพไม่ชัด
      ก็แนะนำให้เข้าไปที่เว็ปของอีกตารางนึงจากลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ  เพราะมันจะเป็น Flash Players
      ทำให้ง่ายต่อการดูอีกด้วย   !!แต่ถ้าตาไม่ดีระวัง  มึนนะครับ ฮ่าๆๆ




 ภาพนี้ได้มาจากสมาชิกในเว็ป  Patid.com ท่านหนึ่งได้โพสไว้ผมจำชื่อไม่ได้ขออภัยด้วยนะครับ




                 เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนเลยว่า การที่เราจะ EQ เสียงแต่ละเสียงนั้น
       ไม่มีสูตรตายตัวทั้งนั้นใครที่บอกว่าให้ Cut ความถี่นี้ เพิ่มตรงนู่น แล้วเสียงมันจะดีเลยก็คงไม่ใช่
       แต่ที่เห็นส่วนใหญ่แนะนำกันนั้นคือ  ให้เราลองลดช่วง ความถี่ประมาน 200 ถึง 500 ดูว่ามันทำให้
       เสียงหาย อื้ออึง หรือไม่ ตรงนี้แหละครับสำหรับผมถือว่าแนะนำดีที่สุด เพราะแต่ละเสียงนั้นไม่ว่า
       จะใช้คนร้องคนเดียวกัน  ไม่ได้แปลว่าเสียงนั้นจะเหมือนกันซะทุกอย่างขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น
       ไมล์ร้อง , ห้องที่ใช้อัด  หรือ Gain ที่เปิดตอนอัดเสียง  ทุกอย่างล้วนคล้องจองกันไปหมด ให้ถือว่า
       ควรฟังแล้วตัดสินใจด้วยตัวเองครับ  แต่ถ้ามีพี่เก่งๆนั่งฟังอยู่ข้างๆนั้นก็อีกเรื่องนึง ฮ่าๆๆ

                  การดูตารางคือ การสังเกตุดูที่เครื่องดนตรีที่เราจะทำการ EQ เช่นยกตัวอย่างเป็น Kick
        มีความถี่ช่วง 30-147 Hz เรียกชื่อความถี่เต็มๆว่า Fundamental frequency ถ้าเราไป Cut ที่ช่วงนี้จะ
        ทำให้ Character หรือ เอกลักษณ์ ของเสียง Kick  นั้นหายไปแต่ถ้า Boot ก็จะทำให้ได้ยินเสียง
        Kick  ชัดขึ้นเช่นกัน
                   ส่วน Harmonics นั้นก็คือตัวคูณของ Fundamental freq. เช่น  A1= 55 , A2 = 110 , A3-A4
         = 220,440 เป็นต้น


* การที่จะ mix ออกมาให้ฟังแล้วรู้สึกเคลียร์ ภาษาทาง mix เขาเรียกว่า transparency

                    เหตุผลที่เสียงที่เรามิกนั้นออกมาอู้อี้ ฟังไม่รู้เรื่องอย่างนั้น เป็นเพราะ frequency ของเสียง
          จากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมันทับกัน  จะทำให้เกิดการ Masking freq. ของเสียงแต่ละชิ้นเวลาเอา
          มารวมกัน
                     บาง freq. หายไป  บาง freq.จะเพิ่มขึ้น (หลักวิทยาศาสตร์เบื่องต้นของ sine wave)
           จะต้องใช้วิธี Pan หนีกัน หรือใช้ EQ ตัด - เพิ่ม เหมือนการทำหน้าที่เป็นตำรวจจราจร


                     ส่วนเรื่องที่ว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่าเสียงมัน Masking (ซ้อนทับ) กันหรือไม่  ต้องฟังเอาครับ
           หรือหา Spectrum analyzer มาดู แต่วิธีง่ายๆคือ

           1. ตั้ง Level ของเสียงทั้งหมดให้เท่าๆกัน

           2. Pan ทุกอย่างให้อยู่ Center

           3. เริ่มจาก Track แรก   Pan ไปช้าๆซ้ายและขวาหากคุณได้ยินเสียงมันเลื่อนไปตามที่คุณ Pan
               แสดงว่า OK  หากไม่ได้ยินเสียงมันเลื่อน แสดงว่าเสียงมันทับกัน คุณต้องใช้ EQ หลบหลีก
               กัน จากนั้นก็ทำกับ Track อื่นๆต่อไป

                      ส่วนตัวอย่างการหลบความถี่ เพื่อไม่ให้ไปทับกันเช่นจะมิก Kick กับ Bass นั้น เราต้อง
               เลือกว่าจะให้อะไรเด่น เช่นเพลง Rock ต้อง Kick นำ เราก็เพิ่มตรง Fundamental freq. ของ kick
               และเราต้องไปลด freq. ของ Bass ที่ทับกับ Kick อยู่เพื่อให้ Bass ไม่ไปบัง Kick นั้นเอง จากนั้น
               เราค่อยไปเพิ่ม Harmonics  freq. ของ Bass เพื่อให้เสียง Bass ชัดขึ้นเป็นต้น


*ลองศึกษาและทำดูครับ ทำไปบ่อยๆจะรู้สึกง่ายขึ้นเองครับ

Cradit :  www.patid.com  ข้อมูลที่มา 1  ข้อมูลที่มา 2

EQ คืออะไร หรือ Equalizer คืออะไร ,มีหน้าที่อะไร ?

                  

                   ถ้าพูดถึง EQ หลายๆคนจะได้ยินกันจนชินหู บ้างก็บอกว่าเอาไว้ปรับเสียง บ้างก็บอกเอาไว้
         กันลำโพงพังบ้างต่างๆนาๆ  แต่วันนี้จะมาพูดถึง EQ ที่อยู่ในโปรแกรม Logic pro คือ Channel EQ
         ว่าส่วนต่างๆนั้นมีอะไรบ้าง  แล้วเดี๋ยวผมจะทำคลิปให้ดูกันอีกทีจะได้เข้าใจมากขึ้นครับ




       ในส่วนของ EQ นั้นมีส่วนหลักๆ ทีใช้ในการปรับค่าต่างๆก็มีดังนี้





  1. a คือ ส่วนที่แสดงกราฟความสูงต่ำของ Ampitude เวลาเราปรับค่าต่างๆ กราฟนี้จะแสดง
            เป็นคลื่นให้เห็น
  2. b คือ ส่วนของการเลือกช่วงความถี่ ที่เราต้องการจะ Boot หรือ Cut ก็คือ เพิ่มหรือลดใน
            ช่วงความถี่นั้นๆ
  3. c คือ ส่วนของการเพิ่มระดับความดัง ที่เราได้เลือกความถี่เอาไว้จะมีหน่วยเป็น dB สามารถ
            เพิ่มได้ตามความดังที่ซอฟแวร์กำหนดมา  เช่น Channel EQ ตัวนี้ สามารถปรับได้มาก
            สุดคือ + 24  หรือ - 24  dB ครับ
  4. d คือ ส่วนของการปรับค่า Q หรือ ค่าความกว้างของกราฟ ว่าจะให้มีความกว้างเท่าไหร่ถ้า
            ค่าเยอะจะแคบ ถ้าค่าน้อยกราฟจะกว้างครับ
  5. e คือ ส่วนของการเลือกรูปแบบ EQ Type สัญลักษณ์ด้านซ้ายสุดนั้นจะเป็น Type แบบ High Cut
            ส่วนอันที่ 2 เป็น Low Shelving  อันที่ 3 - 6 เป็น Type แบบ Parametric bell อันที่ 7 เป็น
            High Shelving  อันที่ 8 จะเป็น High Cut


ตัวอย่างของ EQ Type คร่าวๆนะครับ 










*ขอบคุณที่ติดตามนะครับ ^^


Compressor เบื้องต้น ปุ่มปรับต่างๆ



Compressor คืออะไร ?

                  หลายๆท่าน เมื่อเจอคำถามนี้ ก็อาจจะยัง งง กันบ่อยครั้งสรุปแล้วมันคืออะไรกันแน่
      หลายๆท่านให้คำนิยามไว้ต่างกันมากมาย ส่วนในบทความนี้ผมจะเอาที่ มันเป็น มาตราฐาน
      ที่สุดแล้วกันนะครับ

                   Compressor ในสมัยก่อน Sound Engineer จะนำมาใช้เพื่อควบคุม Dynamic ของเสียง
      ไม่ให้เกิดการ Peak ของสัญญาณเกิดขึ้น และผลพวงที่ได้จากการใช้ Compressor ก็คือทำให้
       เสียงที่ถูก Compressor กดนั้นจะมีความหนา และความแน่นของเสียงเพิ่มขึ้นด้วย

                   Parameter ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะพบเจอบน Compressor ทั่วไปนั้นมี  Threshold ,
        Ratio ,Attack , Release , Knee

   Threshold      คือ จะเป็นตัวกำหนดว่า ให้ Compressor นั้นเริ่มทำงานเมื่อ สัญญาณ input 
                              ดังเกินกว่าค่า Threshold ที่ได้ตั้งไว้ Compressor จะเริ่มทำงาน

   Ratio             คือ เป็นการตั้งค่า อัตราส่วนการกดของสัญญาณ เช่นถ้าเราตั้งค่าไว้ที่  2:1 หากเสียง
                             เกิด Threshold ที่ตั้งไว้ 10 dB สัญญาณจะถูกลดตามอัตราส่วนในที่นี้จะเหลือแค่ 5 dB

   Attack           คือ  เมื่อเสียงเกิน Threshold ที่กำหนดตัว Attack จะเป็นตัวบอกว่าเวลาความเร็วหรือช้า
                              ที่ Compressor จะเริ่มเข้ามาทำงาน หน่วยเป็น millisecond

   Release      คือ  เมื่อสัญญาณ input ต่ำกว่า Threshold ตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดความเร็วหรือช้า
                              เพื่อให้ Compressor หยุดทำงาน มีหน่วยเป็น millisecond 

   Knee             คือ  เป็นตัวกำหนดรูปแบบของการ Compressor ว่าจะเป็นแบบ Soft  หรือ Hard 

   Circuit Type  คือ  รูปแบบวงจรของการ Compressor ส่วนนี้จะมีอยู่ใน Compressor บางตัวครับ


ถ้าดูรูปภาพประกอบก็จะเข้ามากขึ้นครับ




            การปรับค่าของ Compressor นั้นจะแตกต่างกันไปแต่ละเพลงไม่มีสูตรตายตัวอยู่ที่การฟัง
       เป็นส่วนใหญ่ครับ


                      

12/24/2555

DAW หรือ Digital Audio Workstation คือ ?

Daw หรือ Digital Audio Workstation คือ ?

         
เป็นรูปตัวอย่าง
Logic Pro 9

          
                      ถ้าพูดถึง Daw หรือ Digital Audio Workstation หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ความหมายว่ามันคืออะไร ถ้าจะให้แปลตรงตัวแบบบ้านๆ ก็คือ  สถานีด้านเสียงในระบบดิจิตอล  ( ฮ่าๆ ตรงดีไหม!! )  คือความหมายของมันในนิยามที่เข้าใจง่ายๆ ก็คือ โปรแกรมสำหรับ การ บันทึกเสียง การผสมเสียง การเขียน Midi ที่ทำงานบนเครื่อง Computer แต่สมัยนี้ ใน Iphone or Ipad ก็สามารถที่จะลงโปรแกรมทำเพลงพวกนี้ได้แล้ว ทันสมัยจริงๆ โปรแกรมพวกนี้ สามารถที่จะ สร้างเพลง ได้ทั้งเพลง โดยไม่ต้องอาศัย เครื่องดนตรีซักชิ้น ก็ทำได้ เพราะ จะมี Sample พวกเครื่องดนตรีจำลองต่างๆมากมาย ให้เราได้เขียน Midi  สรุปสั้นๆ ว่า มันก็คือ โปรแกรม ประยุกก์ ที่ใช้ในการทำเพลง นั่นล่ะ (^^) 

                       หลายคนอาจจะถามต่อว่า แล้วมันมีโปรแกรมชื่ออะไรบ้างละที่มันทำงานแบบนี้ได้ 
ถ้าจะให้แนะนำชื่อ โปรแกรมที่ใช้ในการทำเพลง ต้องแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ก่อนคือที่ทำงาน บน OSX  กับ Windows หรือบางตัวก็ทำงานได้ทั้ง 2  ระบบ เช่น


             OSX  หรือ MAC   :   Logic Pro , Cubase , Pro Tools , Nuendo , ฯลฯ 
              
             Windows              :   Cubase , Nuendo , Sonar , ฯลฯ

                   เอาที่เค้าฮิตๆใช้ในการทำเพลงกันก่อนแต่ก็ยังมีอีกหลายตัวที่ทำงานได้เช่นเดียวกันแต่ยังไม่ได้พูดถึงก็ขออภัย ด้วยครับ


               
                                  

                     
         
       

12/23/2555

First Post!

Welcome To My Studio.



                     สวัสดีครับ เพื่อนๆพี่ๆทุกท่านที่เข้ามา ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการ ทำเพลง ต่างๆ
         ผมขอขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านบทความต่างๆที่ผมจะเริ่มเขียนต่อไปนี้ โดยมีพี่ๆ
        หลายๆ
ท่านเป็นที่ปรึกษาในการเขียนแต่ละครั้ง ข้อมูลบางอย่างอาจจะมีการผิดพลาดไป
        จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ และถ้าเกิดข้อมูลนั้นผิดพลาดไป ฝากรบกวนพี่ๆแนะนำ
        ให้แก้ไขด้วยนะครับ


                ตอนนี้ผมขอแนะนำตัวอย่างเป็นทางการก่อนนะครับ ผมชื่อ นาย สถาพร  ทิศรักษ์  
         เรียกว่า  เป้ก็ได้ครับ ตอนนี้ศึกษาที่ มหาวิทยาลัยรังสิต ครับ ที่จริงผมไม่ได้เรียนเกี่ยวกับ 
         Sound Engineer เลย แต่มีความสนใจในด้านนี้มากๆ  จึงหาศึกษาตามที่ต่างๆคาดว่า
         ถ้าศึกษาจบ
คงจะได้ทำงานจริงจัง ตอนนี้ที่ผมตั้งใจเขียน บล๊อค นี้ขึ้นมาเพราะว่า จาก
         ประสบการ ในการ หา
ข้อมูลในการทำเพลง นั้นยากเหลือเกิน ผมจึงอยากรวบรวมไว้
         ให้ง่ายในการค้นหา วงการนี้จะได้กว้างขึ้นครับ



             
        

                      Name :  Sathaporn  Thitsarak ( สถาพร ทิศรักษ์ ) 

                        Nickname :  Pea (เป้)


                        Education :   Rangsit University 


                         Major   :      Information Technology

    
                         Page    :     www.facebook.com/sathaporn.thissarak



                          ผมยังไม่มีความรู้ด้านนี้มากมายซักเท่าไหร่แต่ จะนำความรู้กับทฤษฏีที่ได้จำมา
             จากการเรียนตามที่ต่างๆให้ได้อ่านกัน ผมมีโอกาศในการทำงานด้าน Studio และ Live
             บ่อยครั้งจึงเป็นโอกาศดีมากๆที่จะได้ศึกษาต่อไป ตอนนี้ ผมอายุ 19 ปี และเชื่อว่า
             ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด และจะต้อง พัฒนาต่อไปเรื่อยๆแน่นอนครับ ขอบคุณสำหรับทุกๆคน
             อีกครั้งนึงครับ