6/16/2556

การฟังที่ถูกต้อง !! เพื่อรักษาหู



                การฟังเพลงขณะ ทำการผสมเสียง หรือ mix นั้นผมเชื่อว่าหลายๆท่านนั้นยังคงฟังดังมากๆเพราะต้องการความชัดเจน ของความถี่ หรือ น้ำหนักของเครื่องดนตรีต่างๆ แต่!! สิ่งที่ท่านทำอยู่อาจจะเป็นการทำร้าย หูของท่านเอง ลองมาเปลี่ยนวิธีการฟังกันดีกว่าครับ โดย


                พยายามหลีกเลี่ยงการฟังดังอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ควรฝึกความดังที่ระดับฟังสบายๆ ซึ่งควรอยู่ที่ระดับความดังเท่ากับการฟังเพลง เพื่อพักผ่อน แต่ไม่ใช่พักผ่อนแบบ ลั่นห้องนะครับ ฮ่าๆๆ
ซึ่งการฟังในระดับ ธรรมดานี้ ก็เพียงพอต่อการแยกแยะเสียง แล้วล่ะครับ แต่ผมก็ไม่ได้หมายความว่าห้ามฟังดังนะครับ การฟังดังๆนั้นก็สามารถ ฟังสลับไปมาก็ได้ครับ เพื่อนทดสอบน้ำหนักของเครื่องดนตรีต่างๆครับ โดยเฉพาะ เบส กลอง ครับ

       






                ดังนั้น ถ้าทุกท่านอยากมี หูที่เที่ยงตรงต่อการทำงานในระยะยาว ก็ควรหลีกเลี่ยงความดังและมีการฟังติดต่อกันเป็นเวลานานๆหลายชั่วโมง และผลเสียงของการฟังดังนานๆจะทำให้ความสามารถในการแยกแยะความถี่ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความถี่สูงและจะทำให้ร่างกายเพลียเร็วกว่าที่ควรจะเป็นมากๆครับ


ปล.ถ้าทุกท่านยังอยากที่จะตามความฝันในการทำผลงานเพลง
     ก็ควรนึกถึงสุขภาพของหูท่านอยู่เสมอ ฟังเบาๆนะคร๊าบบ : )

5/21/2556

Sound card หรือ Audio interface ยี่ห้ออะไรดี เลือกซื้ออย่างไร ??

         


                ถ้าพูดถึง Audio interface หรือ ภาษาบ้านๆเรียกว่า Sound Card เพื่อนๆที่ทำเพลงคงคุ้นเคยกันดี  แต่สำหรับคนที่กำลังคิดที่จะทำเพลง หรือ เริ่มทำเพลงเป็นมือใหม่อาจจะได้ยินผ่านหูมาบ้างไม่มากก็น้อย วันนี้ผมจะมาอธิบายการทำงานคร่าวๆว่า Interface นั้นมีหน้าที่อะไร

             Audio Interface นั้นทำหน้าที่แปลง สัญญานจาก Analog ไปเป็น Digital ในการบันทึกเข้าคอมพิวเตอร์ และ แปลงสัญญานจาก Digital ไปเป็น Analog ในการเล่นเสียงออกไปที่ลำโพงให้เราฟังหรือเรียกว่าการ Playback

             ทำไมถึงต้องมี Audio interface ถ้าอยากทำเพลงเพราะว่าเวลาเราอัดเพลงนั้น จะเกิดการหน่วงคือต่อให้เราร้องตรงกับดนตรีเท่าไหร่คอมมันก็ไม่ตรงซักที เพราะมันเกิดการหน่วงของเวลา แต่ Audio interface ถูกออกแบบมาให้ไม่เกิดการหน่วงนั้นเอง

           สำหรับการเลือกซื้อ Audio Interface นั้นควรดูที่อะไร

 1. จำนวน Pre Mic หรือ รูเสียงแจ๊คนั้นเอง เราควรดูว่าเราต้องการอัดเสียงพร้อมกันกี่ Track
 2. รูปแบบการเชื่อมต่อว่าเราต้องการเป็น USB หรือ FireWire ถ้าเราต้องการอัดพร้อมกันมากๆก็อาจจะเลือกให้การเชื่อมต่อเป็นแบบ FireWire เพราะมีการโอนถ่ายข้อมูลที่เร็วกว่า USB
 3. ดูงบประมานว่าเรามีอยู่เท่าไหร่ Audio interface ที่ผมเคยเห็นราคาถูกและได้คุณภาพประมาน 5500 บาท
 4.จากนั้นดูคาแร็คเตอร์ของเสียงว่าเป็นแบบไหนหรือสอบถามจากผู้เคยใช้เพราะแต่ละค่ายก็จะมีเสียงที่แตกต่างกันไป

         สำหรับ Audio interface ก็มีหลายยี้ห้อผมจะขอยกตัวอย่างคร่าวๆ ที่หาซื้อได้ในประเทศ คือ

  1. Focusrite
  2. M-audio
  3. Apogee
  4. Motu
  5. Metric Halo
  6. Digidesign
   7. Presonus
  8. Tascam
  9. RME

         นี้คือยี้ห้อ Audio Interface ที่มีอยู่ในไทยคร่าวๆ และอีกหลายตัวก็ยังไม่ได้พูดถึง
ส่วนคุณภาพก็ดูง่ายๆตามราคาครับ เช่น Apogee มี 2 input ราคา 20000 กว่า แต่ในจำนวน input ที่เท่ากัน Focusrite ขายอยู่ที่ 5500 แต่ไม่ได้แปลว่า ของค่ายนั้นไม่ดีแต่ละค่ายมีคาแร็ตเตอร์ที่แตกต่างกัน และ ต่อให้ คุณซื้อ Interface ราคาเป็น แสน แต่ฝีมือในการ mix ของคุณนั้นยังเหมือนห่างอึ่ง ค่าของมันก็อาจจะเป็นแค่ 100 บาท

        สำหรับบทความนี้ ขอขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามนะครับ ^^
 

หัดmixเพลงเริ่มจากอะไร ?

                   สวัสดีครับวันนี้จะมาแนะแนวทางเกี่ยวกับการทำเพลง ว่าเราควรจะเริ่มจากตรงไหนเริ่มอย่างไรเป็นการแนะแนวทาง เพราะโลกสมัยนี้ได้เข้าไปอยู่ในยุคของการแบ่งปัน แล้วการหาข้อมูลใน internet ก็ง่ายมากขึ้น วันนี้เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

                  การผสมเสียงหรือการ mix เสียงนั้นจะพูดว่าง่ายคงไม่ได้เช่นกันหรือจะยากเกินไปคงไม่ได้อีกนั้นล่ะ การมิกเสียงคือการนำเอา ศิลป์ และ ทฤษฏี มารวมกัน เราจะมีอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ศิลป์ในที่นี้ก็คือ การ ฟังการจินตนาการ ต่างๆ ทฤษฏี ก็คือ การศึกษาเรื่องของดนตรี ครับ สำหรับใครที่เรียน Sound Engineer มาอยู่แล้วอาจจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับทฤษฏีดนตรี แต่สำหรับใครที่ไม่ได้เรียนมาโดยตรงก็ไม่ต้องท้อเพราะทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ แต่ความพยายามของเราก็ต้อง เพิ่มเป็น สองเท่าด้วยเช่นกัน



                    วันนี้มาดูหัวข้อคร่าวๆว่าการจะเริ่มมิกเพลงหรือทำเพลงเราต้องเรียนรู้อะไรบ้าง ??



          1.เรื่องของ Computer Music (Digital Music)
          2.เรื่องของ Frequency
          3.เรื่องของ Dimensions
          4.เรื่องของการใช้ Equalizer
          5.เรื่องของการใช้ Compressor
          6.เรื่องของการ Mix


               นี้คือหัวข้อหลักๆสำหรับงานด้านนี้แต่ก็ยังมีอีกหลายๆอย่างที่ต้องเรียนรู้ แต่หลักๆที่กล่าวมาพอนำหัวข้อไปศึกษาก็จะพบว่ามีเรื่องต่างๆอีกเพิ่มเติม

               ถ้าเรื่อง Computer Music คุณไม่รู้เรื่องคุณก็จะใช้โปรแกรมไม่ได้ เรื่อง Frequency ถ้าไม่รู้คุณก็จะ EQ เครื่องดนตรีไม่ได้ ทุกอย่างล้วนสำคัญ อย่ารีบร้อนเพราะทุกๆอย่างนั้นต้องใช้ประสบการณ์ด้วย
ตัวผู้เขียนเองก็ยังศึกษาอยู่เช่นกันประสบการณ์ก็ยังไม่เยอะยังไงก็เรียนรู้ไปพร้อมๆกันครับ





cradit : http://stucools.blogspot.com/2011/10/mix.html

ขอบขอคุณพี่ กุ่ย  Jumpod Tumtantong ที่คอยให้คำปรึษาครับ

4/27/2556

ความสามารถในการรับรู้ของมุษย์


ความสามารถในการรับรู้ของมนุษย์

      หูมนุษย์สามารถได้ยินหรือรับรู้ความถี่เสียงที่ความถี่ระหว่าง 20Hz - 20kHz และการรับรู้ของหูเราเป็นแบบสองทิศทาง หรือ การรับรู้แบบ stereo นั้นจึงทำให้มนุษย์สามารถบอกทิศทางและแหล่งกำเนิดเสียงว่ามาจากทางใด   สูง ต่ำ ไกล้  ไกล
     
      แต่ด้วยความที่ ลักษณะกายภาพ และ โครงสร้างของมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกันจึงทำให้แต่ละคนได้ยิน ความถี่ไม่เหมือนกัน โดยเฉลี่ย คนทั้วไป สามารถรับรู้ความถี่เสียงได้ ประมาน  40Hz - 16kHz  แต่จะมีกลุ่มคนอีกส่วนที่สามารถรับความถี่ได้กว้างกว่าคนปกติ เราจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า  นักฟังหูทอง

4/04/2556

In Phase , Out of Phase เรื่อง Phase คืออะไรไปดูกัน

สวัสดีครับเพื่อนพี่ๆที่ติดตามทุกท่านวันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องของ Phase(เฟส) เรื่อง ของ Phase นี้หลายท่านคงยังไม่เคยเจอเพราะส่วนมากจะทำเพลงกันบนคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมดอยู่แล้ว พวก sample ต่างๆก็ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ แล้วใครล่ะที่มีปัญหา ส่วนมากก็จะเป็นคนที่มีการอัดดนตรีสด เช่น อัดกลอง อัดกีต้าโดยใช้ไมล์ หรือ เครื่องดนตรีต่างๆที่ใช้ไมล์แต่ที่พบเห็นได้บ่อยคือการอัดกลอง เพราะมีไมมากกว่า สอง ตัวโอกาศเกิดขึ้นเยอะมากถ้าเราไม่รู้จักการวางไมล์ที่ถูกต้อง

ผมมีโอกาศได้รับ คำอธิบายจากพี่ในบอด www.Patid.com อีกเช่นเคยเรื่องนี้เรามาดูว่าเป็นอย่างไร


 คือ Phase ของเสียงสองเสียง ถ้าเราเทียบกัน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
ถ้ามันตรงกันเรียกว่า In Phase
ถ้ามันตรงกันข้ามกัน เรียกว่า Out Of Phase

ลองดูรูปข้างล่างนี่ครับ


รูปเอามาจาก help ของ web apple.com หน้าที่เป็น User Manual Soundtrack Pro ครับ

หน้าตาเวฟบรรทัดล่างเป็นผลรวมจากเวฟสองอันด้านบน

จะเห็นว่า ถ้า In Phase กัน หน้าตาคลื่นจะเหมือนเดิมแต่แรงขึ้น แต่ถ้า Out of Phase กัน มันจะหักล้างกันเองหายไปเลย
อย่างในรูป มัน Out of Phase กัน 100% ก็เลยจะหักล้างกันหมดไปเลย แปลว่า ถ้าเสียงสองเสียง มีหน้าตาเหมือนกันทุกประการ
แต่ Phase ตรงกันข้าม มารวมกัน เสียงนั้นมันจะหายไปเลยครับ


คราวนี้เพลงที่เราทำมันเป็น stereo ใช่ไหมครับ
แปลว่ามี 2 แทรค คือ ซ้ายกับขวา

ถ้าเสียงไหนมัน Out of phase กันอยู่ระหว่างซ้ายขวา เราจะฟังแล้วรู้สึกว่า กว้าง
และหาตำแหน่งไม่เจอ ว่ามันอยู่ตรงไหนใน Stereo Field

แต่ถ้าเสียงไหนมัน In Phase กัน ระหว่างซ้ายขวา ก็จะฟังดูปรกติ คือจินตนาการหาตำแหน่งได้อย่างชัดเจน
จะอยู่กึ่งกลาง หรืออยู่เอียงซ้ายมานิด เอียงขวามาหน่อย แล้วแต่จุดที่เราแพนไป
ต่างจากเสียงที่ Out of Phase ที่ฟังดูแล้วจะจินตนาการตำแหน่งไม่ออก ว่าเสียงนั้นมามาจากทิศทางไหน
บางครั้งจะรู้สึกว่าเสียงนั้นมาจากข้างหลังเราเลยก็ได้

แล้วอย่างที่เรารู้ครับ คือถ้าเสียงไหนมัน Out of Phase กัน พอมันมารวมกัน มันจะหายไป หรือเบาลงไป
แสดงว่าเพลงที่เรามิกซ์มาเป็น Stereo ถ้ามันต้องรวมกันเป็น Mono มันจะเกิดการ Cancel กัน
ในเสียงที่มันเฟสตรงข้ามกัน ส่วนเสียงไหนที่เฟสทิศทางเดียวกัน พอรวมกันมันจะดังขึ้นครับ

ยกตัวอย่างเช่น เรามีเพลงที่มีเสียงร้อง และกีตาร์หนึ่งไลน์

เราแพนเสียงร้องไว้กลาง กีตาร์ไว้ซ้ายสุด แล้วเอาเวฟกีตาร์ตัวนั้นกลับเฟสแล้วไว้ขวาสุด
พอเราฟังเป็น stereo มันจะได้ยินร้องอยู่ตรงกลาง ส่วนกีตาร์นั้น ได้ยิน แต่ฟังดูจะแปลกๆ ไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน
คือได้ยินเสียงกีตาร์ แต่ฟังดูเวิ้งว้าง กว้างๆ แปลกๆ

ถ้าเอาเพลงนี้มารวมทำเป็น mono จะเหลือแค่เสียงร้องอยู่ตรงกลาง
ส่วนเสียงกีตาร์นั้นจะหายไปเลย... โอ้ววว มหัศจรรย์.... ไม่เชื่อก็ลองทำดูครับ

สรุป จะเตือนให้เรารู้ว่า ถ้ามัน Out of Phase เยอะๆ จะมีปัญหาเสียงบางเสียงหายไปหากทำเป็น Mono ครับ

1/04/2556

Bit Depth คือ

Bit Depth คืออะไร ???
ขอสวัสดีทักทายพี่ๆน้องๆเพื่อนๆที่กำลังอ่านบทความอยู่ ครั้งที่แล้วได้พูดเรื่องของ Sampling Rate วันนี้ก็จะมาพูดถึงเรื่อง Bit Depth ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับ Sampling Rate แต่ถ้าใครที่ยังไม่ได้อ่านเรื่อง Sampling Rate อยากให้กลับไปอ่านก่อนนิดนึงครับ เพื่อจะได้ไม่สับสน ^^

อ่านเรื่อง Sampling Rate กดนี้เลย




               



                 ก่อนจะพูดถึง Bit Depth นั้นก็ขอให้ทำความเข้าใจนิดนึงตรงที่ในหนึ่งคลื่นเวฟ ในหนึ่งคลื่นเสียงนั้นจะมีระยะห่างของจุดเสียงสูงสุดกับจุดเสียงต่ำสุด ซึ่งค่าความต่างนี้จะถูกคิดออกมาเป็นค่าเฉลี่ย โดยทางเทคนิคเรียกว่า Dynamic นั้นเอง เอาภาษาบ้านๆน่าจะ ความดังเบา แล้วกันครับ อิอิ เอาภาษาอังกฤษเหมือนเดิมดีกว่าครับ เพราะว่า แปลไทยแล้วจะงงเข้าไปใหญ่ ต่อเลยแล้วกันครับ ถ้ามี Bit Depth มาก ก็หมายความว่าในคลื่นเสียงแต่ละลูกสามารถมีความต่างของเสียงสูงสุดและต่ำสุดได้มาก ซึ่งถ้าเรากำหนด Bit Depth น้อยนั้น เมื่อเราทำการบีบอัดฟาย ยอดของคลื่นที่เลย Bit Depth ที่เราตั้งไว้จะถูกลดลงทำให้เสียคุณภาพ และ โทนของเสียงไปซึ่งสามารถฟังและเห็นข้อแตกต่างได้อย่างชัดเจน และจะมีผลต่อ เสียง ทุ้ม และ แหลม ของแหล่งกำเนิดเสียงเป็นอย่างมาก

ภาพแสดง Bit Depth 



                ผมได้หารูปจาก Google มาเป็นตัวอย่าง จะสังเกตุได้ชัดเจนว่าขนาด 1 bit เส้นกราฟจะมีความแข็งเก็บ Dynamic ได้ไม่ดี และ ต่อมา 2 และ 4 bit ก็จะมีการโค้งของ คลื่นที่สวยงามขึ้นซึ่งทำให้ได้โทนที่เหมือนแหล่งกำเนิดมากขึ้น ส่วน 16 bit จะทำได้ดีที่สุดเพราะขนาดของ Bit Depth นั้นมากที่สุดครับ



ปล.  ผมเชื่อว่าในอนาคตต้องมี Bit Depth ที่เพิ่มมากขึ้นแน่นอนจะทำให้ Digital ใกล้เคียงกับการทำเพลงแบบ Analog เพิ่มมากขึ้นไปทุกที ^^ ไปแล้วครับ สวัสดีครับ

Sampling Rate คืออะไร ?


  Sampling Rate  คืออะไรกันแน่ !!



                  หลายๆท่านที่พึ่งจะเริ่มเรียนรู้การทำเพลง หรือ ที่ศึกษาไปได้สักระยะแล้วอาจจะยังไม่เข้าใจว่าไอ้เจ้า Sampling Rate เนี่ยแท้จริงแล้วมันคืออะไรเวลา Export เพลงมันก็มักจะถามหา หรือ ตอนสร้างโปรเจคมันก็ดันมาถามอีก ก็เลยกดๆไปก่อนแล้วกันว่ะ (^-^)



                  เมื่อพูดถึง Sampling Rate แล้วจะเปรียบเหมือนกับว่า มันคือหน่วยที่ใช้วัดหรือใช้เรียกความละเอียดของความถี่ ซึ่งอยู่ในรูปของ เวฟ (Sine Wave) ยกตัวอย่างเช่นเสียงที่เราอัด คำว่า "สวัสดีครับ" ในคำนี้ก็จะมีความถี่เสียงประกอบกันอยู่ในคลื่นที่เราได้อัดไว้ หน่วยของ Sampling Rate จะเป็น kHz(กิโลเฮิรตซ์) เราจะเห็นได้ว่าแต่ละคลื่นเสียงนั้นจะมีความลาดชัน ความโค้งของคลื่นจะไม่เหมือนกันขอยกตัวอย่่าง Sampling Rate 44.100 kHz ก็คือ จำนวนจุดที่บอกตำแหน่งความถี่ในคลื่นเวฟหนึ่งๆ หมายความว่า ในคลื่นเวฟ หนึ่งลูกจะมีจุดบอกความถี่ ประมาน 4 หมื่นกว่าจุดนั้นเอง สรุปก็คือ ถ้ายิ่งมีค่า Sampling Rate มากเท่าใดนั้น ก็จะสามารถเก็บความถี่ได้เยอะมากขึ้น ซึ่งก็คือคุณภาพเวฟของเราจะดีขึ้นนั้นเอง 

ผมมีรูปมาให้ดูกันชัดๆอีกที 
              กรณีที่ 1  ถ้าเกิด Sampling Rate ของเรานั้นน้อย จะเป็นเหมือนกับกราฟ A ซึ่งสีเทาคือเสียงที่ออกมาจากเครื่องดนตรีหรือแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ แต่ในขณะที่เรา Record เข้าไปในคอม Sampling Rate ของเราจะบอกจุดความถี่ได้น้อยเหลือเกินทำให้เสียงที่บันทึกมานั้นความละเอียดอาจจะน้อยไปทำให้มีความถี่ไม่ครบตามแหล่งกำเนิดเสียงจริง
              กรณีที่ 2  ถ้าเกิด Sampling Rate ของเรานั้นมาก ก็จะเหมือนกับกราฟ B นั้นเอง ซึ่งจะสามารถเก็บความถี่ของแหล่งกำเนิดเสียงได้เกือบตรงแปะๆ



          แต่ !! การที่ Sampling Rate มากขึ้นก็ต้องแลกมาด้วยขนาดของฟายที่ใหญ่ขึ้นมากทีเดียว และ อุปกรณ์ในการอัดของเราก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งด้วยที่ทำให้คุณภาพเสียงนั้นออกมาดีครับ 
แต่ไม่ใช่ว่าอ่านบทความนี้แล้วจะกลับไปอัด Sampling Rate ที่ 192 kHz เลยนะครับ ฮ่าๆ อย่าไปคิดว่า Sampling Rate เยอะๆนั้นดีนักเพราะว่ายิ่งเราเก็บความถี่ได้เยอะเท่าใด เรื่องของ Hamonics อื่นๆจะตามมาอีกเยอะและทำให้เราซึ่งเริ่มทำเพลงใหม่ๆมีเรื่องปวดหัวเยอะขึ้นมากเลยละครับ ถ้าแนะนำสำหรับ Demo เพลงที่ไม่ได้ออกอัลบั้มอะไรจริงจังก็ Sampling Rate ที่ 44.100 kHz หรือ 48.000 kHz ก็น่าจะเพียงพอแล้ว 

เรื่องต่อไปเรามาพูดถึงเรื่องของ Bit Depth ในบทความหน้ากันดีกว่าครับ ติดตามชมด้วยนะครับ ไปละ ฟิ้ววว